วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงแมว


โครงงานคอมพิวเตอร์ การสร้างเว็บบล๊อก


เรื่อง การเลี้ยงแมว


คณะผู้จัดทำโครงงาน


1.เด็กหญิงนันทนา ธรรมรักษ เลขที่ 35

2.เด็กหญิงนาตาชา นันตา เลขที่ 36

3.เด็กหญิงรัตกันต์ เชียงเถียร เลขที่ 44

4.เด็กหญิงวัลลรัศมิ์ ธรรมศิริ เลขที่ 46


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2

เสนอ

คุณครูทิพวรรณ ทีอุทิศ

โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์


ประจำปีการศึกษาที่ 1/2558

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ 29



บทคัดย่อ

  โครงงานการสร้างเว็บบล๊อก เรื่องการเลี้ยงแมว  มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องต่างๆเกี่ยวกับแมว เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้กับผู้ที่สนใจและผู้ที่กำลังเริ่มต้นเลี้ยงแมว โดยคณะผู้จัดทำได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต และศึกษาจากหนังสือเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงต่างๆ เพื่อให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2ในการนำเสนอ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

โดยสรุป  โครงงานการสร้างเว็บบล๊อก เรื่องการเลี้ยงแมว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำมาใช้เพื่อเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆสำหรับผู้เลี้ยงและผู้ที่สนใจ  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ได้ประโยชน์ยิ่งๆขึ้นไป

กิตติกรรมประกาศ

การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ  ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจาก  คุณครู  ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี  คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่งขอขอบพระคุณคุณพ่อ  คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา  ที่คอยเป็นกำลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จคุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งขอให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นยิ่งๆขึ้นไป


สารบัญ

บทคัดย่อ                                                                                                                  2

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                  2

บทที่1 ที่มาและความสำคัญ                                                                                 3

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                   4

บทที่ 3 วิธีการดำเนินโครงงาน                                                                           10

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน                                                                                  11

บทที่ 5สรุป   อภิปรายและข้อเสนอแนะ                                                             11          

อ้างอิง                                                                                                            12


                                                                                  บทที่  1

ที่มาและความสำคัญ

                เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มที่ทำโครงงานนี้มีเพียง ด.ญ.นันทนา ธรรมรักษ์ ที่เลี้ยงแมวจึงเป็นกำลังสำคัญในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มนภาคปฏิบัติทำให้ได้ความรู้มามาก และนอกจากนั้นคณะผู้จัดทำก็ได้ไปศึกษาค้นค้าในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับรายละเอียดเพิ่มเติม จากเว็บไซต์ต่างๆที่มีผู้มาเขียนวิธีเลี้ยงดู ความคิดเห็นหรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับแมว เป็นต้น

                จากข้อความดังกล่าว คณะผู้ศึกษาจึงทำโครงงาน  เรื่องการเลี้ยงแมวขึ้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล๊อก (Web blog) ด้วย Blogger ด้วย เรื่อง การเลี้ยงแมวได้

2.เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า

คณะผู้จัดทำไม่รู้เรื่องวิธีการเลี้ยงแมวที่ถูกต้องมากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริงในบางเรื่อง

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
-จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บบล๊อก (Web blog) ด้วย Blogger เรื่องการเลี้ยงแมว
-วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่
 -เคื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 -เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล๊อก คือ https://www.blogger.com
 -เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร www.facbook.com www.hotmail.com www.google.com
 บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง


การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การเลี้ยงแมว คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

แมว



 เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน

ลักษณะเฉพาะ 

  แมวเป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีรูปร่างเพรียว มีหางยาว และบังคับหางได้ มีใบหน้าที่เรียวและโครงหน้าแหลมเช่นเดียวกับเสือและสัตว์อื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน เป็นสัตว์ที่มีเล็บแหลมคม และมีตาที่สามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้ดี แมวจะนอนหลับในเวลากลางวัน และตื่นในเวลากลางคืน

การจัดจำแนกแมว

  โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และแมวขนสั้น (shorthaired  cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่างๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แมวมีมากมายหลายพันธุ์ เช่น แมวเปอร์เซีย แมววิเชียรมาศ ฯลฯ

*แมวมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 14-16 ปี

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับแมว

1. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์เป็นส่วนผสม

จะทำให้เกิดอาการมึนเมา โคม่า หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้2. กระดูกปลา กระดูกสัตว์ปีก และกระดูกจากเนื้ออื่นๆ

จะทำให้เกิดการติดขัดในระบบทางเดินอาหาร

3. ปลาทูน่ากระป๋อง (แบบขายสำหรับให้คนกิน)

การบริโภคปริมาณมากจะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากทูน่ากระป๋องสำหรับคน ไม่มีปริมาณวิตามินและเกลือแร่ที่พอเพียงสำหรับแมว

4. ช๊อกโกแลต กาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน




อาจจะทำให้เกิดภาวะเป็นพิษในแมว มีผลต่อระบบหัวใจและประสาท

5. อาหารสุนัข

การให้อาหารสุนัขเป็นประจำ จะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารและมีผลต่อระบบหัวใจ

 6. องุ่น และลูกเกต

มีสารที่เป็นพิษสำหรับแมว และทำให้เกิดความเสียหายต่อไต

7. วิตามินและอาหารเสริมของคนที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก

จะทำให้เกิดความเสียหายในระบบทางเดินอาหาร และอาจจะเป็นพิษต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะ ตับและไต

8. การให้ตับในปริมาณสูง (เว๊บไม่ได้บอกว่าตับอะไร)

อาจทำให้เกิดภาวะ วิตามินเอเป็นพิษ ซึ่งมีผลต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

9. ถั่วแมคคาเดเมีย (เขียนถูกมั๊ยเนี่ย)

มีสารที่เป็นพิษต่อแมว มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ประสาทและกล้ามเนื้อ

10. กัญชา (ใครจะเอาไปให้มันดมนะ ยกเว้นกัญชาแมว อิอิ)

มีผลต่อระบบประสาท อาเจียน และ การเต้นของหัวใจผิดปกติ

11. นมและผลิตภัณท์เกี่ยวกับนม

แมวบางตัว(ย้ำว่าบางตัว) ไม่มีเอนไซน์แลคเตสสำหรับย่อยแลกโตสในนม

จะทำให้เกิดภาวะท้องเสียได้ ผลิตภัณท์นมสำหรับแมวจะเป็นกลุ่ม ปราศจากแลคโตส

12. เห็ด (ไม่ได้ระบุชนิดเห็ดไว้)

เห็ดอาจมีสารเป็นพิษสำหรับแมว อาจส่งผลต่อหลายๆระบบในร่างกาย ทำให้เกิดอาการช๊อก และถึงขั้นเสียชีวิตได้

13. หัวหอมและกระเทียม ( ดิบ  ปรุงแล้ว ผง)

อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเม็ดเลือดแดง และเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงต่ำ กระเทียมจะมีภาวะความเป็นพิษต่ำกว่าหัวหอม

14. อาหารเด็กสำเร็จรูป

เนื่องจากอาหารเด็กสำเร็จรูปมักจะมีส่วนประกอบของผงหัวหอม ซึ่งเป็นพิษดังกล่าวข้างต้น

15. มันฝรั่ง  ใบมะเขือเทศ ลำต้นมันฝรั่งและมะเขือเทศ

มีสารออกซาเลต ซึ่งอาจมีผลต่อระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และระบบปัสสวะ

16. ไข่ดิบ

ไข่ดิบมีเอนไซน์เรียกว่า avidin ซึ่งจะทำให้ระดับ วิตามิน B ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาขนและผิวหนัง

17. เกลือ



สารพัดโรคของน้องเหมียว



1. โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว หรือที่เรียกว่า โรคหวัดแมว (cat flu) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว พบได้บ่อยโดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Viral Rhinotracheitis Virus (FVRC) หรือ Feline Herpevirus (FHV) และ Feline Calici Virus (FCV) ซึ่งสามารถพบการติดเชื้อร่วมกันได้ นอกจากนี้อาจมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น Bordetella หรือ Chlamydia สำหรับเชื้อ Chlamydia ที่ติดร่วมนั้นจะทำให้แมวมีอาการตาอักเสบ เยื่อบุตาบวมอักเสบ มีขี้ตาเขียว เป็นต้น   

2. โรคไข้หัดแมว (Feline panleukopenia,Feline parvovirus) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มพาร์โวไวรัสในแมว (Feline parvovirus) หรือ Feline distemper มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของแมว พบรายงานการพบโรคนี้มานานแล้ว ซึ่งสามารถพบในแมวทุกตระกูล ไม่ว่าจะเป็น เสือ สิงโต แมวป่า หรือแม้แต่แมวบ้านทุกพันธุ์นอกจากนี้ยังพบได้ในสัตว์ตระกูลอื่นๆ อีก เช่น สกั๊งค์ เฟอเร็ต มิ้งค์ แรคคูน ซึ่งโรคนี้ทำให้แมวมีอาการอาเจียนและท้องเสีย บางครั้งอาจมีอาการหวัดแทรกซ้อน จึงมีคนเรียกชื่อต่างๆ มากมาย เช่น โรคไข้หัดแมว” (Cat distemper) และ โรคลำไส้อักเสบในแมว” (Feline Parvovirus Enteritis) เป็นต้น

   3. โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว หรือโรคลิวคีเมีย (Feline leukemia virus ; FeLV) เกิดจากการติดเชื้อ feline leukemia virus เป็นโรคติดเชื้อโรคหนึ่งที่มีความสำคัญและพบได้บ่อยในแมว เชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อได้ทั้งแมวเลี้ยง รวมทั้งสัตว์ป่าตระกูลแมว การติดเชื้อ FeLV ในแมวสามารถแบ่งเป็นกลุ่มอาการได้ 2 แบบคือ

        - เกิดการกดภูมิคุ้มกันในร่างกายส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรัง

       - เกิดลักษณะก้อนเนื้องอก ก้อนเนื้อมะเร็ง ตามตำแหน่งต่างๆในร่างกายเช่นในช่องอก ช่องท้องและต่อมน้ำเหลืองต่างๆทั่วร่างกาย

การติดต่อของเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อผ่านทางการสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ น้ำตา หรืออุจจาระของสัตว์ป่วย รวมทั้งการติดเชื้อผ่านจากแม่แมวสู่ลูกแมวในขณะตั้งท้อง ส่วนใหญ่มักพบในแมวที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่นอกบ้าน

   4. โรคเอดส์แมว (Feline immunodeficiency virus; FIV) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส FIV ในกลุ่ม retrovirus แมวป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์แมวจะมีขบวนการก่อโรคที่คล้ายคลึงกับในคน คือ การกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการที่พบมักแบ่งออกได้เป็นสามระยะคือ ระยะแรก ภายหลังการติดเชื้อในช่วง 2-3 วันหรืออาจนานถึง 1-2 สัปดาห์ แมวจะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายมีการขยายใหญ่ รวมทั้งมีการลดต่ำลงเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด ระยะที่สอง ภายหลังจากการแสดงอาการในระยะแรก แมวป่วยที่ได้รับการติดเชื้อมักอยู่ในระยะที่ไม่แสดงอาการ แต่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย รวมทั้งสามารถแพร่เชื้อสู่แมวปกติได้ แมวบางตัวสามารถมีอาการอยู่ในระยะนี้ได้นาน และอาจนานถึงหลายปี ระยะสุดท้าย แมวป่วยจะแสดงอาการป่วยที่ไม่ระบุแน่ชัด ขึ้นอยู่กับระบบที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้เนื่องจากการลดต่ำลงของระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย ระบบการทำงานของอวัยวะที่สามารถพบความผิดปกติได้แก่ ระบบปัสสาวะ ช่องปาก เหงือก ระบบทางเดินหายใจ แมวป่วยมักจะแสดงอาการป่วยเรื้อรังและมีชีวิตได้เพียงไม่นานภายหลังการป่วยระยะนี้

   5. โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Feline infectious peritonitis ; FIP) เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม Coronavirus เชื้อไวรัสก่อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมวจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสที่ก่อโรคลำไส้อักเสบในแมว หรือ feline enteric coronavirus ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงต่ำกว่า เชื้อมีการเกิด mutation และทำให้ก่อความรุนแรงมากขึ้นในแมว โดยทั่วไปเชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้องอักเสบสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานประมาณ 3-7 สัปดาห์ รวมทั้งสามารถถูกทำลายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อประเภทต่างๆ การติดเชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้อง สามารถพบได้มากในแมวที่มีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่แข็งแรง เช่น แมวเด็กและแมวแก่ กลุ่มแมวที่เลี้ยงกันแบบหนาแน่นหรือเกิดความเครียด นอกจากนั้นยังสามารถพบได้ในแมวป่วยด้วยโรคระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเช่น โรคลิวคิเมีย โรคเอดส์แมว เป็นต้น โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบสามารถพบได้ในแมวทุกเพศและสายพันธุ์

6.โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา หรือ Ringworm เป็นโรคที่พบได้บ่อยกับแมวโดยเฉพาะอย่างยิ่งแมวที่มีขนยาวอย่างเช่นพันธุ์เปอร์เซีย เชื้อราที่ก่อโรคในแมวสามารถเกิดจากเชื้อราชนิดต่างๆคือ Microsporum gypseum, Microsporum canis, Trichophyton mentagrophyte โดยเชื้อรา Microsporum canis จัดเป็นเชื้อราที่ก่อโรคชนิดหลักในแมว เชื้อราเหล่านี้จะอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอกของแมว รวมถึงบริเวณเล็บและเส้นขน โดยใช้เคอราตินของผิวหนัง เล็บและเส้นขนเป็นอาหารในการเจริญเติบโต ในแมวปกติบางตัวสามารถพบเชื้อราได้บนตัวแมวโดยไม่ก่อให้เกิดรอยโรค ส่วนมากแมวที่อายุยังน้อย แมวแก่ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ



การดูแลลูกแมว 



เริ่มต้นดูแลน้ำหนักตั้งแต่ลูกแมวเกิด

 การดูแลลูกแมวเริ่มตั้งแต่หลังคลอด โดยเจ้าของควรเริ่มตั้งแต่การชั่งน้ำหนักลูกแมว เพราะโดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักลูกแมวจะอยู่ที่ 100 โดยบวกลบอีก 10 กรัม ซึ่งถ้าลูกแมวมีหนักน้อยกว่า 90 กรัม อาจมีแนวโน้มในการเสียชีวิตช่วงแรกคลอดได้  จากนั้นเจ้าของควรชั่งน้ำหนักลูกแมวอย่างสม่ำเสมอจนหย่านม  จะทุกวันหรือวันเว้นวันก็ได้ เพราะลูกแมวแต่ละตัวควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นวันละ 7-10 กรัม ลูกแมวที่น้ำหนักน้อยลงอาจเป็นสัญญาณถึงการเจ็บป่วยได้ 

การดูแลสุขภาพ  

หลังคลอดควรพามาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น เพดานโหว่ ไส้เลื่อน เป็นต้น  สำหรับลูกแมวที่จะนำเข้ามาเลี้ยงใหม่ในบ้าน ควรถ่ายพยาธิให้เรียบร้อย และตรวจร่างกายทั่วไปที่อาจติดสู่ตัวอื่น เช่น ไรในหู เชื้อรา เห็บ หมัด หวัด ท้องเสีย ก่อนนำเข้าบ้าน   โดยลูกแมวควรเริ่มถ่ายพยาธิที่อายุ 2-3 สัปดาห์ และเริ่มฉีดวัคซีนที่อายุ 8 สัปดาห์ จากนั้นกระตุ้นซ้ำทุกเดือนจนครบตามโปรแกรม

คอยสังเกตุและคอยช่วยแม่แมวที่เลี่ยงลูกเอง

แม่แมวมักเลี้ยงลูกเองและไม่ต้องการให้คนเข้าไปยุ่ง โดยลูกแมวจะกินนมอย่างเดียวทุก 1-2 ชั่วโมง ระหว่างกินนั้น แม่แมวจะเลียลูกน้อยเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่ายไปด้วย  หลังกินอิ่มลูกแมวจะนอนหลับ หากลูกแมวร้องและคลานไปมาแสดงว่ากินไม่อิ่ม เจ้าของเองสามารถเข้าไปช่วยจับให้ลูกแมวดูดนมแม่ และต้องกันตัวอื่นๆแยกออกมาก่อน

สำหรับลูกแมวที่ไม่มีแม่แมว

ในช่วง 3-4 สัปดาห์แรก ควรให้กินเฉพาะนมสำหรับแมวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งเจ้าของจะต้องป้อนนมทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยในแต่ละครั้งควรให้ในปริมาณไม่มากหรือน้อยเกินไป (ควรปรึกษาสัตวแพทย์เนื่องจากต้องพิจารณาจากน้ำหนักและอายุของลูกแมว) สิ่งที่ควรระวังจากการป้อนนมก็คือการสำลักนม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในลูกแมวที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากป้อนนมมากหรือเร็วเกินไป นมที่ป้อนอาจจะตกลงไปในหลอดลม  ส่วนการกระตุ้นการขับถ่ายควรทำทุกครั้งหลังป้อนนม ซึ่งปกติอุจจาระของลูกแมวจะมีลักษณะเป็นก้อน สีเหลืองอมขาว  ปัสสาวะควรเป็นสีใสหรือสีเหลืองใส

เรื่องการขับถ่ายและอาบน้ำ..อย่ามองข้าม  

ลูกแมวจะมีพฤติกรรมขุดทรายที่อายุประมาณ 4 สัปดาห์ โดยตามแม่แมวเข้าไปเล่นในกระบะทราย เจ้าของควรวางทรายเป็นเวลา และเปลี่ยนทรายวันละครั้ง จนอายุราวๆ 6 สัปดาห์ ลูกแมวจะขับถ่ายในกระบะได้เอง สำหรับการอาบน้ำไม่มีความจำเป็นต้องอาบน้ำให้ลูกแมว เนื่องจากแม่แมวจะเลียทำความสะอาดให้ ส่วนแมวกำพร้า อาจเช็ดตัวเมื่อแมวเริ่มสกปรก   2-3 วันต่อครั้ง

การดูแลสุขภาพทั่วไป

 ในช่วงอายุ 3-4 สัปดาห์ เมื่อลูกแมวเริ่มแยกตัวจากแม่แล้ว อาจจะลองให้ลูกแมวเลียน้ำในภาชนะแบนๆ เริ่มให้อาหารเปียกผสมนม วันละ 4-6 มื้อ และค่อยๆลดปริมาณนมลงในทุกสัปดาห์ จนอายุ 2 เดือนลูกแมวจะหย่านมแม่และทานแต่อาหารแมวเพียงอย่างเดียว

 ช่วงอายุ1-2 เดือน ลูกแมวจะเรียนรู้สิ่งแวดล้อม เจ้าของควรเล่นกับแมวอย่างน้อยวันละ 30-40 นาที เพื่อให้ลูกแมวคุ้นเคย ไม่ขี้กลัว และหวาดระแวงเกินไป

หลังคลอดควรพามาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น เพดานโหว่ ไส้เลื่อน เป็นต้น  สำหรับลูกแมวที่จะนำเข้ามาเลี้ยงใหม่ในบ้าน ควรถ่ายพยาธิให้เรียบร้อย และตรวจร่างกายทั่วไปที่อาจติดสู่ตัวอื่น เช่น ไรในหู เชื้อรา เห็บ หมัด หวัด ท้องเสีย ก่อนนำเข้าบ้าน   โดยลูกแมวควรเริ่มถ่ายพยาธิที่อายุ 2-3 สัปดาห์ และเริ่มฉีดวัคซีนที่อายุ 8 สัปดาห์ จากนั้นกระตุ้นซ้ำทุกเดือนจนครบตามโปรแกรม  พอช่วงอายุเข้า 1-2 เดือน ลูกแมวจะเรียนรู้สิ่งแวดล้อม เจ้าของควรเล่นกับแมวอย่างน้อยวันละ 30-40 นาที เพื่อให้ลูกแมวคุ้นเคย ไม่ขี้กลัว และหวาดระแวงเกินไป


                                                                    บทที่3

วิธีการดำเนินโครงงาน

โปรแกรมที่ ใช้ในการทำโครงงานบทที่ 3

1. Microsoft Word 2007

2.เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  

3.www.google.com

 แผนการดำเนินงาน

1.กำหนดหัวข้อ

2.หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือ

3.เขียนเค้าโครง

4.ตรวจสอบหรือแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง

5.เผยแพร่ผ่านทางเว็บบล็อก

6.นำเสนอ

บทที่ 4

       ผลการดำเนินงาน

 คณะผู้จัดทำสามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีโดยการวางแผนวิธีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน และมีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการทำโครงงาน เช่น

1.การรวบรวมข้อมูล การเลี้ยงแมวจากทางอินเตอร์เน็ต

2.การศึกษาวิธีการสร้างเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้เรื่อง การเลี้ยงแมวจากทางอินเตอร์เน็ต


บทที่ 5

สรุป   อภิปรายและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการดาเนินงานโครงงาน

 จากการดำเนินงานโครงงานการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การเลี้ยงแมวในครั้งนี้สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

    ทำให้ได้เว็บบล็อกเรื่อง การเลี้ยงแมวเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งทำให้เกิดประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป และผู้ที่เลี้ยงแมว

ข้อเสนอแนะ

ควรมีการจัดทาเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้

 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา

 1.  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทาโครงงาน และบางครั้งอินเทอร์เน็ตมีปัญหา

2.  สมาชิกในกลุ่มบางคนให้ความร่วมมือน้อยเพราะไม่ค่อยใส่ใจกับโครงงานนักจึงทำให้เสียเวลาและทำให้โครงงานเสร็จช้า

อ้างอิง